ดิจิทัลต้องรู้!ใต้โต๊ะดีไซน์เนอร์

คิดเงินฟรีแลนซ์เท่าไหร่ต้องดูจากอะไรบ้าง

     เนื่องจากยังไม่มีการกำหนดค่าแรงสำหรับคนทำงานฟรีแลนซ์ โดยเฉพาะสายงานด้านการสร้างสรรค์จึงกลายเป็นปัญหาว่าราคาที่เหมาะสมกับงานควรจะเท่าไหร่ดี ถ้าหากอยู่ออฟฟิศจะมี AE ที่รับบรีฟเก่ง ดิวงานไว คอยรับงานและดิวราคากับลูกค้าให้ แต่เมื่อต้องมารับงานเองโดยไม่มี AE มารับงานหรือคิดราคา ต่อรองราคาจึงเป็นเรื่องยากสำหรับฟรีแลนซ์มือใหม่ที่ยังไม่ถนัดในเรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ 

     การรับงานช่วงแรกอาจเป็นเรื่องยากที่จะกำหนดราคาว่าควรคำนวนจากอะไรบ้าง ในช่วงเริ่มต้นนั้นคุณอาจไม่ค่อยมีผลงาน หรือพอร์ตสวย ๆ ดี ๆ ที่จะดึงดูดลูกค้าเพื่อตั้งราคาที่สมเหตุสมผลได้ ทำให้คนที่เริ่มรับงานฟรีแลนซ์มือใหม่หลายคน ตัดราคาตัวเองในช่วงเริ่มต้นเพราะต้องการแค่ให้ได้งาน หรือขอให้มีลูกค้าจ้างงานก็พอ จึงยอมกดราคาตัวเองจนต่ำกว่ารายได้ที่ควรเป็น หรือน้อยกว่าฝีมือหรือทักษะที่ควรจะได้รับ และเรื่องเศร้าที่ไม่ควรจะเกิดขึ้นสำหรับวงการนักสร้างสรรค์ฟรีแลนซ์เกือบทุกสาขา คือการตั้งราคารับงานที่ถูกแสนถูกจนกลายเป็นบรรทัดฐานราคาจ้างงานที่ลูกค้าจะใช้เป็นเรฟราคาจ้างงานสำหรับฟรีแลนซ์

     เพื่อแก้ปัญหานี้อย่างยั่งยืน และสร้างบรรทัดฐานราคาสมเหตุสมผล อย่างแรกคนสายงานสร้างสรรค์ คุณต้องรู้คุณค่าของคุณก่อน แล้วลูกค้าจะรู้คุณค่าของคุณ คุณค่านี้มาจากไหน มาจากประสบการณ์ ชื่อเสียงและผลงานที่คุณสั่งสมไว้ ส่วนสำหรับหน้าใหม่หากต้องการทำงานเพื่อเก็บพอร์ต ขอแนะนำให้ทำโปรเจกต์ส่วนตัวค่ะ โดยหาหัวข้อเป็นเรื่องที่คุณสนใจ ตัวโปรเจกต์ที่ลงมือทำต้องแสดงถึงวิธีคิดงานที่ไม่เหมือนใครพร้อมกับแสดงทักษะฝีมือที่คุณเอามาใช้ ทีนี้เรามาดูสิ่งที่จะต้องใช้คำนวนต้นทุนคิดราคาว่ามีอะไรบ้างค่ะ

เริ่มจากคำนวนต้นทุนต่อวันของตัวเอง

     ตารางนี้เป็นตัวอย่างการแนะนำวิธีคิดราคาคำนวนรวมต้นทุนทั้งเดือนเพื่อคำนวนต้นทุนต่อ 1 วัน สำหรับไปคำนวนการรับงาน 1 โปรเจกต์ แสดงตัวอย่างต้นทุนสำหรับการคิดคำนวน ราคารับงาน แต่บางโปรเจกต์ ลูกค้าเป็นฝ่ายกำหนดราคาและระยะเวลามาพร้อม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้รับงานหรือแล้วแต่ตกลงทั้งสองฝ่าย

รายละเอียดแบบแจกแจงเป็นตารางอย่างละเอียด

ค่าใช้จ่ายที่เป็นต้นทุนอื่น

     สามารถนำค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่นำมาคิดคำนวนได้หากมีการใช้จ่ายเกิดขึ้นจริง และค่าใช้จ่ายนั้นเป็นประโยชน์ต่อตัวคุณหรือลูกค้าด้วย เช่น

  • ค่าวัสดุสิ้นเปลือง เช่นหมึกพิมพ์ ค่าโดยเฉพาะงานที่เกี่ยวข้องกับการพิมพ์มีความจำเป็นอย่างมากที่ต้องปรินต์งานเพื่อทดสอบสีก่อนส่งให้ลูกค้า
  • ค่าเดินทางหากเป็นในกรณีต้องเดินทางไปดูนอกสถานที่หรือต่างจังหวัด 
  • ค่าพัฒนาทักษะเพื่อ up skill ในงานที่จะเกิดในอนาคต

ในบางประเทศการคิดค่างานมีโมเดลคิดค่างานแบบนับเป็นรายชั่วโมงด้วย ภาพด้านล่างเป็นตัวอย่างเว็บคิดราคาฟรีแลนซ์ตามทักษะ ประสบการณ์  (ราคารายชั่วโมง)
https://www.hellobonsai.com/freelance-rates

อย่าลืม! ต้นทุนที่มองไม่เห็น


     คือค่าเสียเวลา และค่าเสียโอกาส ในกรณีที่งานทำไปเกิดล้มเลิกกลางคันไม่ว่าด้วยเหตุใดก็ตาม เพื่อลดโอกาสที่จะเกิดปัญหานี้ การทำใบเสนอเป็นสิ่งควรทำอย่างยิ่งในการรับงาน เพื่อระบุรายละเอียดการทำงาน รวมไปถึงการวางมัดจำก่อนเริ่มทำงาน ดิวการชำระเงิน ทั้งนี้เพื่อรักษาสิทธิ์ของตัวเราและลูกค้าด้วย ในกรณีการรับงานโปรเจกต์ใหญ่ ๆ ควรทำสัญญาจ้าง จะเป็นประโยชน์กับทั้งสองฝ่าย

การเริ่มรับงาน 1 โปรเจกต์ ควรจะคิดราคาค่าออกแบบอย่างไรดี

สิ่งที่ต้องรู้เพื่อประเมินระยะเวลาการทำงาน (เพื่อออกใบเสนอราคาให้ลูกค้า)

  • Breif ยิ่งละเอียดยิ่งดี จะช่วยให้ประเมินระยะเวลาทำงานและออกแบบได้ตรงความต้องการลูกค้ามากที่สุด
  • ความต้องการต่าง ๆ เช่น จำนวนชิ้นงาน ขนาดไฟล์ที่ต้องนำส่ง ไฟล์ลูกค้าที่จะได้รับ
  • ลูกค้าสามารถแก้งานได้กี่ครั้ง
  • ต้องวางเงินมัดจำเมื่อไหร่ ชำระเงินกี่งวด ดิวชำระเงินกี่วัน 
  • เงื่อนไขตกลงอื่น ๆ เช่น ค่าลิขสิทธิ์ไอค่อน ฟอนต์ ที่ดาวน์โหลดมาใช้ หากกรณีลูกค้าตกลงนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ เป็นต้น

* หากเป็นงานที่ต้องใช้ทักษะหลายด้าน มีการวางกลยุทธ์ งานออกแบบที่ไปใช้ในเชิงพาณิชย์สร้างมูลค่าทางการตลาด เช่นงาน Corporate Identity / Branding Identity สามารถตกลงกับลูกค้าได้ตามความเหมาะสม

ตัวอย่าง และการคำนวนแบบละเอียด

โปรเจกต์: ลูกค้าให้ออกแบบโปสเตอร์งานเทศกาลดนตรี A2 แนวตั้งและแนวนอน (2 ขนาด) ใช้สำหรับใช้สื่อ Off-line  สไตล์เท่ ๆ แนววินเทจ แต่ขอสีจัด ๆ แสดงถึงความสนุกสนาน จะมีภาพศิลปินใส่ในอาร์ตเวิร์ก ด้วย (ภาพเป็นของลูกค้า) ใช้ฟอนต์ฟรีใน Google ปรับแก้งาน 2 ครั้ง จบงานขอไฟล์สำหรับงานพิมพ์ และขอ .jpg .png .psd หรือ .ai ด้วย

*** เป็นเพียงการยกตัวอย่าง ระยะการทำงานขึ้นอยู่กับความสามารถและทักษะเฉพาะบุคคล ควรประเมินราคางานให้เหมาะสมกับเนื้อหาและรายละเอียดงานที่รับ

จากตารางด้านบนโปรเจกต์นี้ถ้าสามารถทำได้ตามเป้าหมายจะได้เงิน 8,500 บาท (ในกรณีที่ไม่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย) นี่เป็นตัวอย่างคร่าว ๆ สำหรับการคำนวนต้นทุนค่างานต่อโปรเจกต์ค่ะ

ข้อควรระวังสำหรับฟรีแลนซ์มือใหม่

  • พยายามปิดจ็อบให้ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้กับลูกค้า เพราะความไว้ใจได้และน่าเชื่อถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับคนทำงาน ถ้าเราทำงานดีและตรงเวลา ลูกค้าจะกลับมาหรือเผลอ ๆ บางครั้งลูกค้าจะเป็นฝ่ายประชาสัมพันธ์หางานมาให้ด้วย
  • สำหรับฟรีแลนซ์โปรเจกต์งานที่เข้ามามีความไม่แน่นอนค่อนข้างสูง หมายความว่าในเวลา 30 วัน อาจจะไม่ได้มีงานทุกวัน ไหนจะต้องรอเงินจากลูกค้าที่อยู่ในระหว่างเบิกจ่าย ถ้าสามารถหางานที่เป็นฟรีแลนซ์ แบบประจำต่อเนื่องจะช่วยให้มีความมั่นคงทางรายได้พร้อมพัฒนาฝีมือได้ด้วย 
  • หากช่วงไหนงานเข้าเยอะ สามารถรับงานซ้อนได้ เงินและงานใคร ๆ ก็อยากได้ แต่อย่ารับงานซ้อนกันเกินกำลังจัดการไหว เพราะจะทำให้คุณภาพงานลด  เนื่องจากงานที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์เป็นงานที่ต้องใช้เวลาและความทุ่มเทอย่างมาก


อ้างอิง:
https://www.shillingtoneducation.com/blog/freelance-graphic-design-rates/
https://designshack.net/articles/business-articles/how-much-should-you-charge-for-design-services/

Related posts
ดิจิทัลต้องรู้!สาระจุกๆ

รวมเทคนิค "เช็กให้ชัวร์ก่อนแชร์" ก่อนจะเป็นคนแพร่ข่าวปลอมไม่รู้ตัว

ดิจิทัลต้องรู้!ใต้โต๊ะดีไซน์เนอร์

เล่างานออกแบบให้ตรงกับความคิดด้วย Moodboard พร้อม 7 เว็บ สร้าง Moodboard เจ๋ง ๆ

ดิจิทัลต้องรู้!ใต้โต๊ะดีไซน์เนอร์

7 เทคนิคการเลือกใช้ฟอนต์ในงานออกแบบ

ดิจิทัลต้องรู้!ใต้โต๊ะดีไซน์เนอร์

ยกระดับสู่การเป็น "ฟรีแลนซ์มืออาชีพ" ต้องทำอย่างไร ไปดูกัน

Sign up for our Newsletter and
stay informed
[mc4wp_form id="14"]