ถอดบทเรียนธุรกิจ

“เมื่อแบรนด์และเจ้าของทั้งสองคือเรื่องเดียวกัน” ถ้าทัศนคติเจ้าของแบรนด์พัง คุณค่าแบรนด์ก็พังไปด้วย

    ในยุคที่การเมืองร้อนแรงแบบนี้ คงปฏิเสธไม่ได้หรอกว่าการเมืองเองก็เป็นส่วนหนึ่งของการตลาดอยู่เหมือนกัน เพราะการสื่อสารอะไรในช่วงนี้ล้วนแล้วแต่เกี่ยวข้องกับการเมืองแทบทั้งนั้น จนทำให้เราต้องในเรื่อง Moral Issues หรือศึลธรรมทางสังคมให้ดีก่อนที่จะสื่อสารออกไป และในส่วนนี้ก็ไม่มีทางเลี่ยงได้ เพราะไม่ว่าวันใดวันหนึ่งแบรนด์ของเราก็ต้องถูกบีบให้เลือกอยู่ดี และการนิ่งเฉยก็ไม่ใช่ทางรอดเช่นกัน แต่ตอนนี้ดูเหมือนเรื่องจะไม่จบแค่ที่ตัวแบรนด์เองอย่างเดียวเสียแล้ว เพราะต่อให้คุณวางตัวแบรนด์แบบหนึ่ง แต่เจ้าของแบรนด์ หรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับแบรนด์ดันแสดงความเห็นอีกแบบหนึ่งก็เป็นหนทางสู่ความพังไปด้วยได้เช่นกัน

อย่างเคสล่าสุดที่เกิดกับแบรนด์เครื่องหอมรายหนึ่ง ก็เป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจและชวนหยิบยกมานำเสนอมาก เพราะตัวแบรนด์เองหรือที่เพจแบรนด์ ก็ไม่ได้มีการสื่อสารหรือแสดงออกอะไรในเชิงการเมืองเลยแม้แต่น้อย มีแต่โพสโปรโมทสินค้าของตัวเอง และจริงๆ แล้วลูกค้าหลายๆ คนก็พอจะรู้อยู่แล้วว่าหุ้นส่วนของแบรนด์บางคนมีแนวคิดอย่างไร แต่ด้วยคุณภาพของสินค้า หรือการวางตัวของแบรนด์นั้นยังไม่แสดงออกมานัก ก็อาจจะมีทั้งกลุ่มคนที่รู้แต่ก็ยังชอบใช้ กับกลุ่มคนที่ไม่รู้อยู่เหมือนกัน

แต่เรื่องกลับมารุนแรง เนื่องจากการแสดงความเห็นอันหนึ่งของหุ้นส่วนกิจการนั้น ดันข้ามเส้นไปแตะในส่วนที่เป็น Moral Issues นั่นก็คือการไปพูดถึงเรื่องที่ละเอียดอ่อน อย่างการเสียชีวิตของผู้คนในเวลานี้ ที่กระทบไปถึงจิตใจผู้คนเป็นอย่างมาก และเป็นเรื่องของมนุษยธรรมพื้นฐานที่ควรมีไม่ว่าจะอยู่ในฝั่งไหนก็ตาม นั่นจึงเป็นสาเหตุที่เรื่องราวออกมาร้อนแรง และคนต่างขุดกันมาแบนกันได้มากขนาดนี้ แม้ว่าตัวแบรนด์จะไม่ได้เป็นคนที่ออกมาพูดด้วยตัวเองก็ตาม ในส่วนนี้จะเห็นได้ว่าผู้คนมองภาพของแบรนด์ และแนวคิดเจ้าของแบรนด์นั้นเป็นภาพเดียวกันไปแล้ว ซึ่งการต่อต้านจึงไม่หยุดแค่ตัวบุคคล แต่จะส่งผลกระทบถึงแบรนด์ไปด้วย

การออกมาแถลงการณ์ของแบรนด์ แม้ว่าจะระบุไปถึงความผิดในระดับตัวบุคคลแล้วก็ตาม แต่ความเกี่ยวข้องที่มีต่อแบรนด์ ก็ไม่สามารถบรรเทาความเดือดดาลของผู้คนในตอนนี้ได้ จนทำให้เราพบคอมเมนท์เนื้อหาเชิงเลิกเป็นลูกค้า และเลิกใช้บริการต่อจากนี้อีกจำนวนมาก แม้ว่าแบรนด์จะแถลงการณ์อย่างดีแล้วก็ตาม ทำให้เรื่องนี้เป็นอุทาหรณ์สำหรับแบรนด์ในยุคการเมืองร้อนแรงแบบนี้เลยว่า

  1. สิ่งที่ออกมาจากแบรนด์ ไม่ว่าใครเป็นผู้ตัดสินใจ ก็นับเป็นความรับผิดชอบของแบรนด์
  2. สิ่งที่ออกมาจากคนที่เกี่ยวข้องกับแบรนด์ ก็สามารถส่งผลกระทบกับแบรนด์ได้ในทางตรงแล้ว
  3. หากวันใดที่มีความจำเป็นต้องเลือกข้าง จงเลือกอยู่ข้างที่มีศีลธรรมตามหลักสากล ที่ต่อต้านความรุนแรง และความไม่เท่าเทียมต่างๆ

กรอกเมลตรงนี้ และรอรับเรื่องราวดีๆ จากเรา ❤️

Related posts
ถอดบทเรียนธุรกิจ

ถอดบทเรียนธุรกิจ : ไลฟ์สดอย่างไร ให้ปังแบบพิมรี่พาย

Sign up for our Newsletter and
stay informed
[mc4wp_form id="14"]