ดิจิทัลต้องรู้!สาระจุกๆ

อัปเดทเทรนด์ Instagram Stories ใช้ยังไงให้ปัง

อีกหนึ่งเทรนด์มาแรงแห่งปี 2019 หนีไม่พ้นกับ Instagram Stories Ads
ลองย้อนกลับไปเมื่อปีก่อนกันค่าาา . .​ .

ถ้าพูดถึงคำว่า “Stories” หลายคนอาจจะงงๆ ว่ามันคืออะไร?
แต่พอมาถึงตอนนี้ เชื่อว่าไม่มีใครที่จะไม่รู้จักฟีดยอดนิยมที่คอนเทนต์
มีอายุเพียง 24 ชั่วโมง เพราะไม่ว่าหันไปทางไหน ก็เห็นคนอัพ Stories
กันแบบรัวๆ ตั้งแต่คนธรรมดาไปยันดาราเซเลป รวมไปถึงการทำโฆษณาของแต่ละแบรนด์ด้วยจ้าาา
แล้วบรรดานักการตลาดที่ดูแลแบรนด์หรือเจ้าของแบรนด์เอง
จะนำ Instagram Stories มาใช้ให้ได้ประสิทธิภาพที่สุดอย่างไรกันหล่ะ?

วันนี้เราจะพาทุกคนไปอัปเดตเทรนด์ Instagram Stories
เพื่อให้แบรนด์ปัง เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มากขึ้นแบบเริศๆ มาฝากกันค่าา

นักการตลาดหรือเจ้าของแบรนด์ จะต้องอัปเดตและเข้าใจพฤติกรรมให้มากขึ้น
ว่ากลุ่มเป้าหมายธุรกิจของเราทำไมชอบ Instagram Stories ?
.
ลองเช็กลิสต์กันดูนะ ว่าตอนนี้ทำครบตามเทรนด์ล่าสุดหรือยัง แล้วคุณจะเข้าใจ User มากขึ้น
✅ Full Screen :
Instagram Stories ของคุณขนาดเต็มสเกลหน้าจอมือถือหรือยัง
✅ Short form :
Stories ที่ทำต้องมีความกระชับ สื่อสารชัดเจน
✅ Playful :
เรื่องราวที่ เข้าถึงง่าย มีความเป็นกันเองอยู่หรือเปล่า
✅ Authentic :
สร้างความน่าเชื่อถือกับสิ่งที่บอกเล่าผ่าน Stories เพียงพอหรือยัง
✅ Interactive :
ทำให้สามารถโต้ตอบง่ายไหม เพราะการสร้างปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าได้ เป็นสิ่งที่ดี
✅ Ephemeral :
ต้องเข้าใจว่ามีสื่อเยอะมาก เวลาก็จำกัด (อยู่ได้ชั่วคราว) ต้องทำให้ปัง ให้ User หยุดมอง

เช็กลิสต์กันดูแล้ว ทีนี้ต้องเข้าใจเพิ่มขึ้นอีกว่า “ต้องทำยังไงหล่ะ??
ถึงจะให้กลุ่มเป้าหมายของเรา เข้าใจและสนใจเรามากขึ้น”
.
✅ ง่ายๆเลยคือ ต้องเข้าใจเทรนด์ Instagram Stories ว่า
โฟกัสพฤติกรรมบนมือถือเป็นหลัก (Mobile First)
✅ กลุ่มเป้าหมายเปลี่ยนพฤติกรรมจากการดูสื่อโทรทัศน์หรือจอใหญ่ๆ มารับชมเป็นวิดีโอหรือรายการออนไลน์อยู่มือถือแทนแล้ว
✅ พฤติกรรมผู้บริโภคให้ความสนใจกับการสร้างเรื่องราว (Stories) มากขึ้น
.
เมื่อรู้พฤติกรรมและการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้แล้ว ก็ลองนำไปปรับใช้กันดูนะค้าา


ถึงเวลาแล้วละค่าา ที่นักการตลาดหรือเจ้าของแบรนด์จะต้องปรับ Instagram Stories
ให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของเทรนด์ และพฤติกรรมของผู้บริโภค
.
แอบกระซิบบอกเลยว่า Solution ในการทำแต่ละแบรนด์นั้น คงหนีไม่ต่างกันมาก ต้องเอาแนวทางเหล่านี้ไปประยุกต์ใช้ดูกันนะ
.
✅ Awareness : สร้างการรับรู้แบรนด์ การสร้าง Branding เหมาะสำหรับแบรนด์ใหม่ๆ
ที่ต้องการให้ User รู้จักเรามากขึ้น
✅ Engagement : สร้างปฏิสัมพันธ์ สร้าง Traffic ให้กับแบรนด์
✅ Brand Image : การสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แบรนด์ เหมาะกับการทำเชิง CSR, PR
ประชาสัมพันธ์ ให้ User มองไปทิศทางเดียวกัน
✅ Loyalty : สร้างสื่อที่ให้ User เกิดความจงรักภักดีกับแบรนด์ และอยู่กับแบรนด์เราไปนานๆ เหมาะกับแบรนด์ที่สร้างตลาดมาดีแล้ว แล้วต้องการต่อยอด หรือเรียกง่ายๆอีก มุมมองหนึ่งคือการทำ CRM ดีๆนั้นเอง
✅ Conversion : เป็นการสร้างเพื่อเรียกยอดขาย แน่นอนว่าทุกแบรนด์สร้างแล้ว ก็ต้องการขายได้ แต่กว่าจะถึงข้อนี้ ลองดูข้อบนๆ ก่อนนะ (สร้างการขายให้น่าสนใจมีชัยไปกว่าครึ่ง)


———————————————————————

Related posts
ดิจิทัลต้องรู้!สาระจุกๆ

รวมเทคนิค "เช็กให้ชัวร์ก่อนแชร์" ก่อนจะเป็นคนแพร่ข่าวปลอมไม่รู้ตัว

สาระจุกๆ

ฉันคิดบวกหรือแค่โลกสวยกันนะ? รู้จัก Romanticize เมื่อมุมที่เคยคิดว่าสวยงาม อาจไม่เป็นตามจริง

สาระจุกๆ

6 เทคนิคเขียน Resume เขียนอย่างไร ให้เพิ่มโอกาสได้งาน

วิเคราะห์การตลาดสาระจุกๆ

Generalized หรือ Specialized โลกการทำงานยุคนี้ต้องการคนแบบไหน?

Sign up for our Newsletter and
stay informed
[mc4wp_form id="14"]